คุณค่าและประโยชน์น้ำสมุนไพร คือ น้ำสมุนไพรมีรสชาติอร่อยตามธรรมชาติ ให้คุณค่าและประโยชน์ต่อร่างกายโดยตรง อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และเป็นอาหารต้านโรค โดยเฉพาะต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเกิดจากความเสื่อม ได้แก่ ผิวหนังเหี่ยวย่น, ฝ้า, กระ, ข้อเสื่อม, โรคหลอดเลือด, โรคหัวใจ, อัมพาต, ต้อกระจก, มะเร็ง จนกระทั่งโรคเอดส์ เนื่องจาก มีสารต้านอนุมูลอิสระ สารผัก (phytonutrient หรือ phytochemical) และเส้นใยอาหาร
เทคนิคการเตรียมน้ำสมุนไพร
การเลือกสมุนไพร
การเลือกสมุนไพรที่จะนำมาทำน้ำสมุนไพร ต้องคำนึงถึงสมุนไพรที่สด ถ้าเป็นสมุนไพรที่ต้องทำให้แห้ง ควรเลือกสมุนไพรที่ใหม่สะอาด ดูลักษณะ สี กลิ่น ดูว่ามีเชื้อราหรือไม่ สมุนไพรที่สดใหม่ช่วยให้ได้คุณค่าทางโภชนาการสูง สีสันน่ารับประทาน
ความสะอาด
ทั้งสมุนไพร และภาชนะที่ใช้ต้องสะอาด ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อ ถ้าไม่สะอาด อาจทำให้ผู้ดื่มน้ำสมุนไพร ท้องเสีย และยังทำให้สมุนไพรเก็บไม่ได้นานเท่าที่ควร
ภาชนะที่ใช้
ภาชนะที่ต้ม ควรจะเป็นหม้อเคลือบ ไม่ควรใช้หม้ออะลูมิเนียม เพราะอาจทำให้กรดที่อยู่ในสมุนไพรกัดภาชนะ ถ้าเป็นหม้อ หรือกะทะทองเหลือง จะทำให้รสของน้ำสมุนไพรเปลี่ยนไป นอกจากนี้ การที่เราดื่มน้ำสมุนไพรที่มีสารโลหะหนักผสมอยู่ อาจจะเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ สำหรับภาชนะที่บรรจุควร จะเป็นขวดแก้ว จะสะดวกในการนึ่ง และน้ำสมุนไพร จะไม่ทำปฏิกิริยากับขวดแก้ว ภาชนะที่เป็นแก้วยังดูใสสะอาดน่าดื่มยิ่งขึ้น
แนะนำ น้ำสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร ทำเองได้ ทำขายดี
การทำน้ำสมุนไพร ทำได้ไม่ยาก ทำกินเองก็ได้ ทำขายก็สร้างรายได้ โดยถ้าขายขวดละ 10 บาทต้นทุนจะประมาณ 5 บาทเท่านั้น โดย สมุนไพรแต่ละชนิดนั้นก็มีประโยชน์ของตัวมันเองแตกต่างกันออกไป แต่การที่จะทำน้ำสมุนไพรนั้น ต้องมีความอร่อยควบคู่ไปกับประโยชน์ของมันด้วย
1.น้ำกระเจี๊ยบ
ประโยชน์ของน้ำกระเจ๊ยบ คือ ละลายไขมันในเส้นเลือด ดับกระหาย ต่อต้านอนุมูลอิสระ
วัตถุดิบ สำหรับ 20 ขวด (220 มล.)
- กระเจี๊ยบแห้ง 1 ขีด
- น้ำเปล่า 4.5 ลิตร
- น้ำตาล 5 ขีด
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
ต้มน้ำกับกระเจี๊ยบแห้ง พอน้ำเดือดเปิดไฟกลาง รอจนกว่าสีกระเจี๊ยบจะซีดลง แปลว่าสีของน้ำกระเจี๊ยบเราจะเข้มขึ้นด้วย ช้อนกระเจี๊ยบขึ้น ใส่น้ำตาล และเกลือเพื่อตัดรส คนให้ละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น กรอกใส่ขวดแช่เย็น
2. น้ำมะตูม
ประโยชน์ของน้ำมะตูม ช่วยในเรื่องท้องผูก และลำไส้ แก้ร้อนใน คุมระดับน้ำตาลในเลือด
วัตถุดิบ สำหรับ 20 ขวด (220 มล.)
- มะตูมแห้ง 15 ชิ้น
- น้ำเปล่า 4.5 ลิตร
- น้ำตาล 5 ขีด
วิธีทำ
ต้มน้ำกับมะตูมแห้งให้เดือด เปิดไฟกลาง รอจนกว่ากลิ่นหอม และสีสันของมะตูมแห้งออกมาจนหมด โดยสังเกตุจาก มะตูมจะเริ่มเปื่อย และซีด หลังจากนั้นช้อนมะตูมขึ้น เติมน้ำตาล คนให้ละลาย ปิดไฟ ทิ้งไว้ให้เย็น กรอกใส่ขวดแช่เย็น
3. น้ำลำไย
น้ำลำไยนั้น ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้ร่างกาย เป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง บำรุงเลือด
วัตถุดิบ สำหรับ 20 ขวด (220 มล.)
- ลำไยอบแห้ง 1 ขีด
- น้ำเปล่า 4.5 ลิตร
- น้ำตาล 5 ขีด
วิธีทำ
ต้มน้ำกับลำไยอบแห้ง พอน้ำเดือด เปิดไฟกลาง รอจนกว่าลำไยอบแห้งจะบาน ที่โดยสังเกตุดูว่าสีลำไยจะซีดลง และน้ำที่เราต้มสีจะเข้มขึ้น หลังจากนั้น ให้ใส่น้ำตาลทราย คนให้ละลาย ปิดไฟทิ้งไว้ให้เย็น ตักเนื้อลำไยใส่ขวด แล้วกรอกน้ำใส่ขวดตามลงไป เสร็จแล้วนำไปแช่เย็น
4. น้ำใบบัวบก
สรรพคุณของน้ำใบบัวบกนั้น แก้ช้ำใน บำรุงสายตา บรระเทาอาการเจ็บคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ
วัตถุดิบ สำหรับ 20 ขวด (220 มล.)
- ใบบัวบก 4 ขีด
- น้ำเปล่า 4.5 ลิตร
- น้ำตาล 5 ขีด
วิธีทำ
- ต้มน้ำ 0.5 ลิตร ให้เดือดใส่น้ำตาลเคี่ยวจนเป็นน้ำเชื่อม ทิ้งไว้ให้เย็น
- นำใบบัวบกมาล้างทำความสะอาด ตัดรากออกให้เรียบร้อย หั่นเป็นท่อน ๆ
- นำใบบัวบกกับน้ำที่เตรียมไว้ ใส่เครื่องปั่น ปั่นเสร็จกรองด้วยผ้าขาวบาง เติมน้ำเชื่อมที่เราเตรียมไว้ คนให้เขากัน ตักใส่ขวดทันที และแช่เย็น
5. น้ำใบเตย
น้ำใบเตย อย่างที่รู้กันว่า ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ ให้ความสดชื่น แก้อาการอ่อนเพลีย
วัตถุดิบ สำหรับ 20 ขวด (220 มล.)
- ใบเตยสด 3 ขีด
- น้ำเปล่า 4.5 ลิตร
- น้ำตาล 5 ขีด
- เกลือ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
- แบ่งใบเตยไว้ครึ่งนึงแล้วใช้มีด หั่นเป็นท่อน ๆ หลังจากนั้นนำไปปั่นเติมน้ำเล็กน้อย กรองเอาแต่น้ำด้วยผ้าขาวบาง
- นำใบเตยส่วนที่เหลือขยี้ให้มีกลิ่นหอมนำลงไปต้ม จนน้ำเดือด
- นำน้ำใบเตยที่เรากรองไว้เติมลงไป ปิดไฟ เติมน้ำตาล และเกลือ คนให้ละลาย ทิ้งไว้ให้เย็น กรอกใส่ขวด แช่เย็น
ขอแนะนำ เครื่องจ่ายน้ำหวาน เครื่องกดน้ำหวาน เลือกซื้อเครื่องกดน้ำหวานหลากหลายรุ่น สแตนเลส 304 ปลอดภัย ทำความเย็นเร็ว รักษาอุณหภูมิได้คงที่ โถจ่ายน้ำหวาน ขนาด 4 โถ 3 โถ 2 โถ