หลายบ้านที่พอมีพื้นที่สำหรับทำสวน ก็มักจะอยากมีแปลงพืชผักสวนครัวเล็ก ๆ เอาไว้ปลูกรับประทานกันเองในครอบครัว แต่สำหรับบ้านไหนที่มีพื้นที่จำกัด แต่ก็อยากจะมีต้นผักชีต้นเล็ก ๆ สักต้นสองต้นเอาไว้ปรุงอาหารหรือรับประทานเป็นเครื่องเคียง วันนี้ ขอนำเสนอวิธีปลูกผักชีในกระถาง ให้ลองไปทำกันค่ะ นอกจากจะประหยัดพื้นที่แล้ว ยังปลูกได้ไม่ยากอย่างที่คิดด้วย
วิธีการปลูกผักชี
ผักชีเป็นผักที่ปลูกง่าย เพราะสามารถปลูกได้ทุกสภาพดินปลูกโดยไม่ใช้ดินเลยก็ยังได้
1. การเลือกเมล็ดพันธุ์ผักชี เมล็ดพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกกันเนื่องจากปลูกง่าย หาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและเจริญงอกงามดี ได้แก่พันธุ์ เมล็ดผักชีพันธุ์สิงคโปร์และเมล็ดผักชีไต้หวัน
2. การเตรียมดินเพื่อปลูกผักชี การปลูกผักชีสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกในแปลงดิน การปลูกในกระถางเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปลูกรับประทานเอง และการปลูกในแปลงดินเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย สำหรับท่านที่ต้องการปลูกในแปลงดินควรขุดดินหรือพรวนดินขึ้นมาตากแดดไว้ก่อนสัก5-7วัน แล้วทำการพรวนดินซ้ำอีกทีนึงเพื่อให้ดินมีความร่วนและทำการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดคลุกเคล้ากับแปลงดิน
3. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักชีมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักชีให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1-3วัน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักชีจะทำให้ผักชีเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักชีที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักชีเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น
4. เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ผักชีแล้ว นำไปผึ่งลม เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักชีเริ่มงอกก็นำไปหว่าน
5. ก่อนการนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่านควรรถน้ำให้ซุ่มแปลงดิน แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่าน และคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความซุ่มซื้นของแปลงดิน
6. การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2ครั้ง แต่อย่ารถน้ำมากเกินไป เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต
7. การใส่ปุ๋ยให้ผักชีหลังจากแตกใบแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมัก
การเก็บเกี่ยวผักชี
ผักชีจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 40-45 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวควนรดน้ำให้ซุ่มแปลงดินเพื่อการถอนผักชีที่ง่ายขึ้นทำให้ต้นผักชีไม่ขาด การเก็บเกี่ยวผักชีทำได้โดยการใช้มือจับที่โคนรากแล้วถอนดึงขึ้นมา แล้วสะบัดดินออก แล้วน้ำไปล้างน้ำ คัดใบสีเหลืองหรือใบที่เน่าออก มัดๆเป็นกำแล้วใส่ตะกร้าเพื่อทำการขนส่งต่อไป ต้นผักชีที่เป็นสีเขียวสม่ำเสมอจะขายได้ราคาดี
แนะนำให้ใช้ สแลนกันแดด สแลนสีเขียว ตาข่ายกรองแสง SGE ที่ราคาเริ่มต้นเพียง 645/ม้วน สแลนกันแดดจาก SGETHAI มีความเหนียวเป็นพิเศษ ทำให้ฉีกขาดยากมาก ช่วยให้ผักชีไม่โดนแดดมากจนเกินไป
โรคและแมลงศัตรูของผักชี
โรคที่เป็นง่ายและพบเจอกันบ่อยๆก็คือโรคใบเน่าใบเหลืองและแมลงศัตรูของผักชี คือ เพลี้ย ปัญหทั้ง2อย่าง แก้ไขโดยการใช้ เครื่องพ่นยาสะพายหลัง ฉีดพ่นยา
การปลูกผักชีนอกฤดู
วิธีปลูกผักชีนอกฤดูนั้นอย่างแรกเลยเราต้องเตรียมดินและแปลงปลูกให้เรียบร้อยก่อน โดยแปลงปลูกควรที่จะทำเป็นหลังเต่าเพื่อที่น้ำจะได้ไม่ขัง ดินที่ปลูกก็ควรที่จะเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย โดยนิสัยความชอบของผักชีนั้นไม่ชอบน้ำขัง ชอบที่ชื้นแต่ไม่แชะ ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมปูนขาว เอาฟางคลุมใส่หัวเชื้อพด. 3หรือไตโครเดอร์มา หมักทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงแปลงปลูก
หลังจากเตรียมดินและสถานที่ปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราควรที่จะตั้งเสา 4 เสา รอบแปลงปลูกและกางสแลมมันกับเสาทุกต้นถ้าอยากจะให้มั่นคงหน่อยก็ควรที่จะปักเสากลางด้วยกันลมพัด โดยสแลมสามารถที่จะเปิดปิดได้ เมื่อแดดออกจะรูดเปิดออกมาให้พืชได้รับแสง แต่เมื่อแดดร้อนจัดหรือฝนตก รวมถึงเวลากลางคืนก็ปิดสแลมไว้กันฝนตกและแมลงที่เข้ามารบกวน สแลมนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกของฝนและพรางแสงแดดที่แรงเกินไปได้
ในช่วงหน้าฝนตกติดต่อกันมาก ๆหลายวัน อาจจะใช้เชื้อราไตโครเดอร์มาหรือเชื้อราคีโตเมียมฉีดพ่นเพื่อลดอาการเน่าหรือใช้น้ำปูนขาวที่มีฤทธิ์เป็นด่างปรับสภาพดินเพราะว่าเชื้อราชอบความเป็นกรด เมื่อมีน้ำปูนขาวซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้เชื้อราก็หยุดการเจริญเติบโตเหมือนกัน แต่ถ้าเราพบว่าผักชีต้นไหนเป็นเชื้อราเราควรที่จะรีบถอนทิ้งออกจากแปลงปลูกในทันที แต่ถ้าผักชีขึ้นแน่หนาเกินไปเราก็ควรที่จะถอนทิ้งเหมือนกันเพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของต้นเน่าและอาจจะลุกลามไปทั่วแปลงถ้าเราไม่มีการดูแลที่ดี
Cr. sk.nfe.go.th